Kanchanaburi sweet corn product package
เป็นโครงการพัฒนาของกลุ่มอุตสาหกรรข้าวโพดหวานของจังหวัดกาญจนบุรี
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศา เซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง
การปลูกข้าวโพดหวาน
ชนิดของข้าวโพดหวาน
สามารถจำแนกตามหน่วยพันธุกรรม (gene) ที่ควบคุมได้ดังนี้1. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยืนชูการี่ (Sugary, su/su) ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีปลูกในประเทศไทยมานาน มีความหวานเล็กน้อย มีน้ำตาลซูโครส(sucrose) ประมาณ 10.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะมีซูโครสประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีสีเหลืองอ่อน มีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างเหนียว เวลารับประทานมักติดฟัน เมล็ดแก่จะเหี่ยวย่น เนื่องจากมีแป้งในเมล็ดเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมล็ดเกิดการยุบตัวมาก พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ พันธุ์อีเหี่ยว
2. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนชรังเค่น (shrunken, sh/sh หรือ sh2/sh2) ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีความหวานสูงกว่าในกลุ่มแรก มีซูโครสประมาณ30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อต้มและทิ้งไว้จนเย็นจะเหี่ยวเร็วกว่ากลุ่มแรก เมล็ดมีสีเหลืองส้ม เปลือกหุ้มเมล็ดเหนียวน้อยกว่ากลุ่มแรก เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เมล็ดแก่จะยุบตัวมากกว่า เพราะมีแป้งเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น พันธุ์อินทรี 2, ชูการ์ 73, ไฮบริกซ์ 5 และไฮบริกซ์ 10 เป็นต้น
3. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนบริทเทิล (brittle, bt / bt หรือ bt2 / bt2) ข้าวโพดหวานในกลุ่มนี้จะมีความหวานใกล้เคียงกับกลุ่มที่สอง เมล็ดมีสีเหลืองนวล เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เวลารับประทานกัดหลุดจากซังง่าย จึงไม่ติดฟัน และจะมีความหวานกรอบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ พันธุ์ที่มียีนบริทเทิลควบคุมความหวาน เช่น พันธุ์เอทีเอส -2 หรือซูการ์ 74
4. กลุ่มที่มียีนเสริม ข้าวโพดหวานชนิดนี้จะมียีนที่เป็น homozygous recessive อยู่หนึ่งตำแหน่ง แต่อีกตำแหน่งหนึ่ง จะเป็น heterozygous เมื่อนำเมล็ดไปปลูกเพื่อผลิตฝักสด ยีนที่เป็น heterozygous จะแยกตัวตามกฎของ Mendel มีผลทำให้ 25 เปอร์เซ็นต์ ของเมล็ดที่เรารับประทานนั้นเป็น double recessive ทำให้ผู้รับประทานมีความรู้สึกว่าข้าวโพดนั้นหวานขึ้น ข้าวโพดหวานพวกนี้มียีน su เป็นพื้นฐานเพราะนักปรับปรุงพันธุ์ ต้องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานนั้นให้หวานขึ้นโดยการนำยีน sh2 หรือ ซูการ์รีเอ็นฮานเซอร์ (sugary enhancer, se) มาช่วยเสริมตัวอย่างข้าวโพดหวานชนิดนี้คือพันธุ์ Sugar Loaf, Honey Comb และ Sugar Time เป็นต้น ในประเทศไทยข้าวโพดข้าวเหนียวหวานขอนแก่นอาจจะจัดอยู่ในประเภทนี้ได้ โดยมียีน sh2 เป็นพื้นฐาน และมียีน su หรือ wx เป็นตัวเสริม ได้มีผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานประเภทนี้เข้ามาปลูกเหมือนกัน สังเกตง่ายๆ คือ ฝักข้าวโพดหวานอาจจะมีเมล็ด 2 สี คือ สีเหลืองและสีขาว โดยจะอยู่ในอัตราส่วน 75 : 25 ซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน หรือวงการค้าเมล็ดข้าวโพดหวานจะเรียกว่า bi-color แต่ถ้าจะพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าข้าวโพดหวานนั้น อาจเกิดจากยีนเสริมหรือไม่ก็จะต้องนำฝักของข้าวโพดหวานที่สงสัยนั้นมาตากให้แห้ง แล้วดูว่าเมล็ดที่แห้งแล้วเหมือนกันทั้งฝักหรือไม่ ถ้าเมล็ดที่แห้งแล้วเหมือนกันทั้งฝักก็แสดงว่าเป็นข้าวโพดหวานชนิดยีนเดียว แต่ถ้าเมล็ดที่แห้งแล้วมีเมล็ดลีบมากๆ คล้ายข้าวโพดหวานพิเศษอยู่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดลีบมากๆ นี้เป็น double recessive ที่เหลืออีก 75 เปอร์เซ็นต์ เป็นเมล็ดข้าวโพดหวานธรรมดา ข้าวโพดหวานฝักนั้นก็เป็นข้าวโพดหวานที่เกิดจากยีนเสริม
5. กลุ่มที่เกิดจากยีนร่วม เนื่องด้วยข้าวโพดหวานธรรมดามีความหวานน้อย และปัญหาเรื่องอัตราความงอกต่ำในข้าวโพดหวานพิเศษ นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน จึงได้พยายาม นำยีนต่างๆ มาอยู่ร่วมกันในสภาพ homozygous recessive ที่ทุกๆ ตำแหน่ง (locus) เพื่อให้ได้ข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพดีขึ้น คือ ปริมาณน้ำตาลสูงขึ้น และแก้ปัญหาในเรื่องอัตราความงอกต่ำ อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะเป็นพันธุ์ที่ควบคุมความหวานด้วยยีน 2 ชนิด คือ ยีน ชรังเค่นและยีนบริทเทิล ซึ่งพันธุ์ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว มีอัตราส่วนทางการตลาดใกล้เคียงกัน
พันธุ์ข้าวโพดหวาน
1. พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ฮาวายเอี้ยนชูการ์ ซูเปอร์สวีท เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่ความสูงต้น ความสูงฝัก และอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสม
2. พันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันมีข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมมากมายให้เกษตรกรเลือกใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของบริษัทเอกชนต่างๆ และมีบางพันธุ์เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรยังอยู่ในขั้นตอนท้ายๆ ของการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งคาดว่าจะออกเป็นพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำได้ภายใน 2 - 3 ปี นี้
ที่มา : http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n11/v_11-feb/korkui.html
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์แห่งสหรัฐฯ
รายงานในวารสารสมาคมเคมีแห่งอเมริกา
ข้าวโพดหวานที่ปรุงสุกแล้วจะออกฤทธิ์ล้างพิษในร่างกายสูงขึ้นได้อย่างเด่นชัด เขาเผยว่าผิดกับที่เคยเชื่อกันมาก่อนว่าผักและผลไม้หากต้มปรุงสุกแล้วจะเสียคุณค่าทาง อาหารลงไปสู้กินดิบ ๆ ไม่ได้
แต่ข้าวโพดหวานยังคงสามารถเก็บพลังเป็นตัวล้างพิษคงไว้ได้ แม้ว่าจะสูเสียวิตามินซีไปเขาได้พบในการ ต้มข้าวโพดหวานด้วยอุณหภูมิสูง 115องศาเซลเซียส ในเวลานานต่างกัน 10, 25 และ 50 นาที พบว่ายิ่งต้มนานจะทำให้มันมีสารอัน เป็นตัวล้างพิษเพิ่มขึ้นเป็น 22, 44 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นตามลำดับนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นตัวล้างพิษช่วยดับพิษของพวกอนุมูล อิสระซึ่งเป็นอันตรายกับเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ
ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคอันเนื่องมาจากความแก่ชรา ต่างๆ อย่างเช่นต้อกระจกและโรคสมองเสื่อมอีกด้วย คณะนักวิจัยแจ้งว่าข้าวโพดหวานที่ต้มหรือปิ้งจะปล่อยสารประกอบที่เรียกว่า กรดเฟรุลิก อันเป็นคุณกับร่างกายยิ่งมากขึ้นเมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเวลานานขึ้น
กรดเฟรุลิกเป็นพวกพฤกษเคมีซึ่งในผักและผลไม้ มีอยู่ไม่มากนักแต่กลับพบมีอยู่อย่างอุดมในข้าวโพดผสมปนเปรวมอยู่กับอย่างอื่นการทำให้มันสุกจึงช่วยทำ ให้มันปล่อยกรดเฟรุลิกออกมาได้มากขึ้น
การกินข้าวโพดหวานต้ม สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ และมะเร็งได้ การต้มทำให้ข้าวโพดหวานปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระ หรือที่บางคนเรียกกันว่า แอนตี้ออกซิแดนท์มาหลายตัว และที่สำคัญตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “กรดเฟอรูลิก”(Ferulic acid ) ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เป็นตัวช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ กรดเฟอรูลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ (aging) ของเซลล์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อต่อต้านผลกระทบจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต (จึงป้องกันมะเร็งผิวหนังได้)http://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-52(500)/page2-5-52(500).html-----สารต้านอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เนื่องจากเป็นอนุภาคไม่คงตัว จึงทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่ติดกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่าออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งอาจก่อผลกระทบที่อันตรายต่อร่างกายได้ตัวการก่อโรคร้าย เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับรหัสพันธุกรรมดีเอ็นเอในนิวเคลียสของเซลล์ อาจทำให้เซลล์ กลายพันธุ์และกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด จะกระตุ้นให้เกิดไขมันสะสมในหลอดเลือด นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีส่วนทำให้เกิดต้อกระจก ภูมิต้านทานต่ำ โรคข้ออักเสบ และแก่ก่อนวัยบทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างเองแล้ว ในวิตามิน แร่ธาตุ และพฤกษเคมีก็มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ด้วย และช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดี
การแปรรูปข้าวโพดฝักสด
2. แปรรูปสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง สามารถแปรรูปได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปปรุงแต่งไม่แช่เย็นจนแข็ง หรือแช่แข็งเป็นข้าวโพดแช่แข็งทั้งฝัก (frozen corn on cob) และเมล็ดข้าวโพดแช่แข็ง (frozen whole kernel) ในรูปของเมล็ดข้าวโพด (whole kernel corn) และครีมข้าวโพด (cream style corn) ข้าวโพดหวานบรรจุถุงสูญญากาศ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดหวาน
วิธีทำน้ำนมข้าวโพดหวาน
วิธีทำข้าวโพดหวานต้มน้ำมะพร้าวอ่อน
วิธีทำสาคูข้าวโพดหวาน